วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 05-28/07/2009

เรื่อง Linked List

ลิงค์ลิสต์ (Linked List) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่าง ๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อแต่ละอิลิเมนท์ เรียกว่าโนด (Node) ซึ่งในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือData จะเก็บข้อมูลของอิลิเมนท์ และส่วนที่สอง คือ Link Field จะทำหน้าที่เก็บตำแหน่งของโนดต่อไปในลิสต์

ในส่วนของ data อาจจะเป็นรายการเดี่ยวหรือเป็นเรคคอร์ดก็ได้ในส่วนของ link จะเป็นส่วนที่เก็บตำแหน่งของโหนดถัดไป ในโหนดสุดท้ายจะเก็บค่า Nullซึ่งไม่ได้ชี้ไปยังตำแหน่งใด ๆ เป็นตัวบอกการสิ้นสุดของลิสต์

ในลิงค์ลิสต์จะมีตัวแปรสำหรับชี้ตำแหน่งลิสต์ (List pointer variable)ซึ่งเป็นที่เก็บตำแหน่งเริ่มต้นของลิสต์ ซึ่งก็คือโหนดแรกของลิสต์นั่นเอง ถ้าลิสต์ไม่มีข้อมูล ข้อมูลในโหนดแรกของลิสต์จะเป็นNull

โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูลแรกของลิสต์ (Head)
2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
กระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน
1. กระบวนงาน Create Listหน้าที่ สร้างลิสต์ว่างผลลัพธ์ ลิสต์ว่าง

2. กระบวนงาน Insert Nodeหน้าที่เพิ่มข้อมูลลงไปในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้า ลิสต์ ข้อมูล และตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง

3. กระบวนงาน Delete Nodeหน้าที่ ลบสมาชิกในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้า ข้อมูลและตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง

4. กระบวนงาน Search listหน้าที่ ค้นหาข้อมูลในลิสต์ที่ต้องการข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ ค่าจริงถ้าพบข้อมูล ค่าเท็จถ้าไม่พบข้อมูล

5. กระบวนงาน Traverseหน้าที่ ท่องไปในลิสต์เพื่อเข้าถึงและประมวลผลข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ ขึ้นกับการประมวลผล เช่นเปลี่ยนแปลงค่าใน node , รวมฟิลด์ในลิสต์ ,คำนวณค่าเฉลี่ยของฟิลด์ เป็นต้น

6. กระบวนงาน Retrieve Nodeหน้าที่ หาตำแหน่งข้อมูลจากลิสต์ข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ ตำแหน่งข้อมูลที่อยู่ในลิสต์

7. ฟังก์ชั่น EmptyListหน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์ว่างข้อมูลนำเข้า ลิสต์ผลลัพธ์ เป็นจริง ถ้าลิสต์ว่างเป็นเท็จ ถ้าลิสต์ไม่ว่าง

8. ฟังก์ชั่น FullListหน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์เต็มหรือไม่ข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ เป็นจริง ถ้าหน่วยความจำเต็มเป็นเท็จ ถ้าสามารถมีโหนดอื่น

9. ฟังก์ชั่น list countหน้าที่ นับจำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์ข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ จำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์

10. กระบวนงาน destroy listหน้าที่ ทำลายลิสต์ข้อมูลนำเข้า ลิสต์ผลลัพธ์ ไม่มีลิสต์

Linked List แบบซับซ้อน
1. Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิกตัวสุดท้ายมีตัวชี้ (list) ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของลิงค์ลิสต์ จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียวเท่านั้นคือเป็นแบบวงกลม
2. Double Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่มีทิศทางการทำงานแบบ 2 ทิศทาง ในลิงค์ลิสต์แบบ 2ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูลก่อนหน้า (backward pointer) และตัวชี้ข้อมูลถัดไป(forward pointer)

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 04-20/07/2009

(String)
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (CharacterString)
เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง

สตริงกับอะเรย์สตริง คือ อะเรย์ของอักขระ
การกำหนดสตริงการกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ
1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว(String Constants)
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์

การกำหนดค่าคงตัวสตริงสามารถกำหนดได้ทั้งนอกและในฟังก์ชัน
เมื่อกำหนดไว้นอกฟังก์ชัน
ชื่อค่าคงตัวจะเป็นพอยเตอร์ชี้ไปยังหน่วยความจำที่เก็บสตริงนั้น
เมื่อกำหนดไว้ในฟังก์ชัน จะเป็นพอยเตอร์ไปยังหน่วยความจำที่เก็บตัวมันเอง

การกำหนดค่าคงตัวสตริงให้แก่ตัวแปรพอยต์เตอร์และอะเรย์
สามารถกำหนดค่าคงตัวสตริงให้พอยเตอร์หรืออะเรย์ได้ในฐานะค่าเริ่มต้น
การกำหนดตัวแปรสตริงในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการของอะเรย์
เพราะ สตริงก็คืออะเรย์ของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0)
และมีฟังก์ชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะ

อะเรย์ของสตริงถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก
ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียนโปรแกรมได้สะดวก
การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปร
อะเรย์ของสตริงที่ยาวไม่เท่ากันทำได้เฉพาะเมื่อมีการกำหนดค่าเริ่มต้นเท่านั้น

ฟังก์ชัน puts ( ) ใช้ในการพิมพ์สตริงออกทางจอภาพ
โดยการผ่านค่าแอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้นข้อสังเกตการกำหนดอะเรย์ของสตริงในลักษณะอย่างนี้
ไม่ใช่อะเรย์ที่แท้จริงตามหลักการของอะเรย์ เนื่องจากขนาดของช่องในอะเรย์ไม่เท่ากัน
แต่อนุโลมให้ถือว่าเป็นอะเรย์

อะเรย์ของสตริงที่ยาวเท่ากัน
อะเรย์ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริงและสามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น
และเมื่อกำหนดเป็นตัวแปร โดยดำเนินการตามแบบการกำหนดอะเรย์ 2 มิติ

การกำหนดตัวแปรในลักษณะนี้ จะแตกต่างจากการกำหนดตัวแปรแบบความยาวไม่เท่ากัน
คือ ในแบบความยาวไม่เท่ากัน ท้ายของสตริงจะเครื่องจะเติม nullcharacter
ให้เพียงตัวเดียว แต่ในแบบความยาวเท่ากัน จะเติม null character ให้จนครบทุกช่อง