วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3

1. ได้เรียนรู้วิธีการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน

2. ทำให้เป็นคนตรงต่อเวลา
3. ได้ความเป็นระเบียบ
4. สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ในอนาคต
5. ปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้
6. ความตรงต่อเวลา
7. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

DTS 11-08/09/2009

sorting

การเรียงลำดับ (sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบ
มีแบบแผน ช่วยให้การค้นหาสิ่งของหรือข้อมูล ซึ่งจะสามารถ
กระทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การค้นหา
ความหมายของคำในพจนานุกรม


การเรียงลำดับอย่างมีประสิทธิภาพ

ควรจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) เวลาและแรงงานที่ต้องใช้ในการเขียนโปรแกรม
(2) เวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการทำงานตาม
โปรแกรมที่เขียน
(3) จำนวนเนื้อที่ในหน่วยความจำหลักมีเพียงพอ
หรือไม่
วิธีการเรียงลำดับสามารถแบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ

(1)การเรียงลำดับแบบภายใน (internal sorting)
เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ใน
หน่วยความจำหลัก
(2) การเรียงลำดับแบบภายนอก
(external sorting) เป็นการเรียงลำดับข้อมูลที่
เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง

DTS 10-02/09/2009

กราฟ (Graph)

เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นอีกชนิดหนึ่ง

กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีการนำไปใช้ในงาน

ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน

นิยามของกราฟ

กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น
ที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ
(1) โหนด (Nodes)
(2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)
การแทนกราฟในหน่วยความจำ
ในการปฏิบัติการกับโครงสร้างกราฟ สิ่งที่
ต้องการจัดเก็บ จากกราฟโดยทั่วไปก็คือ เอ็จ ซึ่ง
เป็นเส้นเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด มีวิธีการ
จัดเก็บหลายวิธี วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา
ที่สุดการเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ
กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
อาจจะใช้วิธีแอดจาเซนซีลิสต์
(Adjacency List) ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายวิธี
จัดเก็บกราฟด้วยการเก็บโหนดและพอยน์
เตอร์ แต่ต่างกันตรงที่ จะใช้ ลิงค์ลิสต์แทน
เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
การท่องไปในกราฟ
การท่องไปในกราฟ (graph traversal) คือ
กระบวนการเข้าไปเยือนโหนดในกราฟ โดยมีหลักในการ
ทำงานคือ แต่ละโหนดจะถูกเยือนเพียงครั้งเดียว

สำหรับเทคนิคการท่องไปในกราฟมี 2 แบบ คือ
1. การท่องแบบกว้าง (Breadth First Traversal)
วิธีนี้ทำโดยเลือกโหนดที่เป็นจุดเริ่มต้น
2. การท่องแบบลึก (Depth First Traversal)
การทำงานคล้ายกับการท่องทีละระดับของทรี